เมนู

มโนรถปูรณี



อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต



อรรถกถาสูตรที่ 1



ทุกนิบาต สูตรที่ 1

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วชฺชานิ แปลว่า โทษ คือความผิด. บทว่า ทิฏฺฐธมฺมิกํ
ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน คือในอัตภาพนี้แหละ. บทว่า สมฺปรายิกํ
ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในภายหน้า คือในอัตภาพที่ยังไม่มาถึง.
บทว่า อาคุจารึ ได้แก่ ผู้กระทำชั่ว คือกระทำความผิด. บทว่า
ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา กมฺมกรณา กโรนฺเต ความว่า ราชบุรุษ
ทั้งหลายจับโจรมาลงกรรมกรณ์หลายอย่างต่างวิธี. แต่ชื่อว่า พระราชา
ทรงให้ราชบุรุษลงกรรมกรณ์เหล่านั้น. บุคคลนี้เห็นโจรนั้นถูกลงกรรม-
กรณ์อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสติ โจรํ อาคุจารึ
ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา ภมฺมกรณา กโรนฺเต
ดังนี้ . บทว่า อฑฺฒ-
ทณฺฑเกหิ
ความว่า ด้วยไม้ตะบอง หรือด้วยท่อนไม้ที่เอาไม้ยาว 4 ศอก
มาตัดเป็น 2 ท่อน ใส่ด้ามสำหรับถือไว้เพื่อประหาร.
บทว่า ทวิลงฺคถาลิกํ ได้แก่ลงกรรมกรณ์วิธีทำให้เป็นหม้อเคี่ยว
น้ำส้ม. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เปิดกะโหลกศีรษะแล้วเอาคีมคีบ
ก้อนเหล็กแดงใส่เข้าในกะโหลกศีรษะนั้น ด้วยเหตุนั้น มันสมองในศีรษะ
เดือดล้นออก. บทว่า สงฺขมุณฺฑิกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีขอดสังข์.
เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ตัดหนังศีรษะแต่จอนหูทั้งสองข้างลงมาถึง

ท้ายทอยแล้วรวบเส้นผมทั้งหมดผูกเป็นขมวด ใช้ไม้สอดบิดยกขึ้น ให้
หนังเลิกหลุดขึ้นมาพร้อมทั้งผม ต่อแต่นั้นก็ใช้ทรายหยาบขัดกะโหลกศีรษะ
ล้างให้เกลี้ยงขาวเหมือนสังข์. บทว่า ราหุมุขํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธี
ปากราหู. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ใช้ขอเหล็กเกี่ยวปากให้อ้าขึ้นแล้ว
จุดไฟในปากนั้น อีกวิธีหนึ่ง ใช้สิ่วตอกแต่จอนหูทั้งสองข้างลงไปทะลุปาก
เลือดไหลออกมาเต็มปาก. บทว่า โชติมาลิกํ ความว่า ใช้ผ้าเก่าชุบน้ำมัน
พันทั่วทั้งตัว แล้วจุดไฟ. บทว่า หตฺถปฺปชฺโชติกํ ความว่า ใช้ผ้าเก่าชุบ
น้ำมันพันมือทั้งสองแล้วจุดไฟ ต่างคบไฟ. บทว่า เอรกวฏฺฏิกํ ได้แก่
ลงกรรมกรณ์วิธีริ้วส่าย. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เชือดหนังลอกออก
เป็นริ้ว ๆ ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้า แล้วใช้เชือกผูกโจรลากไป โจร
เดินเหยียบริ้วหนังของตัวล้มลง. บทว่า จีรกวาสิกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์
วิธีนุ่งเปลือกไม้ เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เชือดหนังเป็นริ้ว ๆ เหมือน
อย่างแรกนั่นแหละ แต่ทำเป็น 2 ตอน แต่ใต้คอลงมาถึงสะเอวตอน 1
แต่สะเอวถึงข้อเท้าตอน 1 ริ้วหนังตอนบนคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง
เป็นดังนุ่งเปลือกไม้. บทว่า เอเณยฺยกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธียืนกวาง
เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ใช้ห่วงเหล็กสวมข้อศอกทั้งสอง และเข่า
ทั้งสองให้ก้มลงกับดิน สอดหลักเหล็กตอกตรึงไว้ เขาจะยืนอยู่บนดิน
ด้วยหลักเหล็ก 4 อัน แล้วก่อไฟล้อมลน เขาย่อมเป็นเหมือนกวางถูกไฟ
ไหม้ตาย แม้ในอาคตสถานท่านก็กล่าวดังนี้เหมือนกัน. เมื่อเขาตายแล้ว
ถอนหลักออก ให้เขายืน (เป็นสัตว์ 4 เท้า) อยู่ด้วยปลายกระดูกทั้ง 4
นั่นเอง. ชื่อว่าเหตุการณ์เห็นปานนี้ย่อมไม่มี. บทว่า พฬิสมสํสิกํ ความ
ว่า ใช้เบ็ดมีเงี่ยง 2 ข้าง เกี่ยวหนังเนื้อเอ็นดึงออกมา. บทว่า กหาปณกํ

ความว่า ใช้มีดคมเฉือนสรีระทุกแห่ง ตั้งแต่สู่เอวออกเป็นแว่น ๆ ขนาด
เท่าเหรียญกษาปณ์. บทว่า ขาราปฏิจฺฉกํ ความว่า สับฟันให้ยับทั่วกาย
แล้วใช้น้ำแสบราด ขัดถูด้วยแปรงให้หนังเอ็นหลุดออกมาหมด เหลือแต่
กระดูก. บทว่า ปลิฆปริวฏฺฏกํ ความว่า จับนอนตะแคง ใช้หลาวเหล็ก
ตอกตรงช่องหู ทะลุลงไปตรึงแน่นอยู่กับดิน. แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดิน
เวียนไป. บทว่า ปลาลปีฐกํ ความว่า เจ้าหน้าที่ผู้ฉลาดใช้ลูกบดศิลา
กลิ้งทับตัวให้กระดูกแตกป่น แต่ไม่ให้ผิวหนังขาด แล้วจับผมรวบยก
เขย่า ๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง ใช้ผมนั่นแหละ พันตะล่อมเข้าวางไว้
เหมือนตั่งฟาง. บทว่า สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺเต ความว่า ไม่ให้อาหาร
สุนัข 2-3 วัน แล้วให้ฝูงสุนัขที่หิวจัดกัดกิน เพียงครู่เดียวก็เหลือแต่
กระดูก. บทว่า สูเล อุตฺตาเสนฺเต ได้แก่ ยกขึ้นนอนหงายบนหลาว.
บทว่า น ปเรสํ ปาภตํ วิลุมฺปนฺโต วิจรติ ความว่า เห็น
สิ่งของของผู้อื่นมาอยู่ต่อหน้า โดยที่สุดแม้เป็นของที่มีค่าตั้ง 1,000 ตก
อยู่ตามถนน ก็มิได้เที่ยวยื้อแย่งเอา ด้วยคิดว่า จักมีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งนี้
หรือคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ ใช้หลังเท้าเขี่ยไป. บทว่า ปาปโก
แปลว่า เลว ได้แก่ เป็นทุกข์ คือไม่น่าปรารถนา. บทว่า กิญฺจ ตํ
ความว่า จะพึงมีเหตุนี้ได้อย่างไร. บทว่า เยนาหํ ตัดบทว่า เยน อหํ.
บทว่า กายทุจฺจริตํ ได้แก่ กายกรรมที่เป็นอกุศล 3 อย่างมี
ปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า กายสุจริตํ ได้แก่ กุศลกรรม 3 อย่างที่เป็น
ปฏิปักษ์ต่อกายทุจริต. บทว่า วจีทุจฺจริตํ ได้เเก่ วจีกรรมที่เป็นอกุศล
4 อย่าง มีมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า วจีสุจริตํ ได้แก่ กุศลกรรม 4 อย่าง
ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวจีทุจริต. บทว่า มโนทุจฺจริตํ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็น

อกุศล 3 อย่างมีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า มโนสุจริตํ ได้แก่ กุศลกรรม
3 อย่างที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมโนทุจริต.
ในคำว่า สุทฺธํ อตฺตานํ ปริหรติ นี้ สุทธิมี 2 อย่าง คือ
ปริยายสุทธิ 1 นิปปริยายสุทธิ 1. จริงอยู่ บุคคลชื่อว่าบริหารตนให้
หมดจดโดยปริยาย ด้วยสรณคมน์ ชื่อว่าบริหารตนให้หมดจดโดยปริยาย
ด้วยศีล 5 ด้วยศีล 10 ด้วยจตุปาริสุทธิศีล ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ
ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ ด้วย
อรหัตมรรคเหมือนกัน. ส่วนผู้ที่ดำรงอยู่ในอรหัตผล เป็นพระขีณาสพ
ยังขันธ์ 5 ซึ่งมีรากขาดแล้ว ให้เป็นไปอยู่บ้าง ให้เคี้ยวกินบ้าง ให้
บริโภคบ้าง ให้นั่งบ้าง ให้นอนบ้าง พึงทราบว่า บริหาร คือประคับ
ประคองตนให้หมดจด คือหมดมลทินโดยตรงทีเดียว. บทว่า ตสฺมา
ความว่า เพราะสองอย่างเหล่านี้ เป็นโทษทีเดียว มิใช่ไม่เป็นโทษ.
บทว่า วชฺชภีรุโน แปลว่า เป็นผู้ขลาดต่อโทษ. บทว่า วชฺชภย-
ทสฺสาวิโน
แปลว่า เห็นโทษเป็นภัยอยู่เสมอ. บทว่า เอตํ ปาฏิกงฺขํ
ความว่า ข้อนี้จะพึงหวังได้ อธิบายว่า ข้อนี้จะมีแน่. บทว่า ยํ เป็น
เพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง เป็นตติยาวิภัตติ ความว่า เป็นเหตุเครื่องพ้น
จากโทษทั้งปวง. ถามว่า จักพ้นด้วยเหตุไร. แก้ว่า พ้นด้วยมรรคที่ 4
ด้วย ด้วยผลที่ 4 ด้วย. ชื่อว่าพ้นด้วยมรรค เมื่อบรรลุผลแล้ว ชื่อว่า
พ้นอย่างหมดจด. ก็อกุศลไม่ให้ผลแก่พระขีณาสพหรือ. ให้ผล. แต่
อกุศลนั้น ท่านทำไว้ก่อนแต่ยังไม่เป็นพระขีณาสพ และให้ผลในอัตภาพ
นี้เท่านั้น ในสัมปรายภพ ผลกรรมไม่มีแก่ท่าน.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1

สูตรที่ 2



ว่าด้วยความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก 2 อย่าง



[288] 2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้
ยาก 2 อย่าง 2 อย่างเป็นไฉน คือความเพียรเพื่อทำให้เกิดจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ของคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน 1
ความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง ของผู้ที่ออกบวชเป็นบรรพชิต 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในโลกมีความเพียรซึ่งเกิดได้ยาก 2 อย่างนี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเพียร 2 อย่างนี้ ความเพียรเพื่อสละคืน
อุปธิทั้งปวงเป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ
ทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเริ่มตั้งความเพียรเพื่อสละคืนอุปธิทั้งปวง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล
จบสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ปธานานิ แปลว่า ความเพียร. จริงอยู่ ความเพียร ท่าน
เรียกว่า ปธานะ เพราะควรตั้งไว้ หรือเพราะทำความพยายาม. บทว่า
ทุรภิสมฺภวานิ ความว่า ยากที่จะบังคับ คือยากที่จะให้เป็นไป อธิบายว่า
ทำได้ยาก. บทว่า อคารํ อชฺฌาวสตํ แปลว่า อยู่ในเรือน. ด้วยคำว่า
จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขารานุปฺปาทนตฺถํ ปธานํ
ท่านแสดงว่า ชื่อว่าความพยายามเพื่อให้ปัจจัย 4 มีจีวรเป็นต้นเหล่านี้